ABOUT MMRI > พันธกิจ


เป็นสถาบันวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีวัสดุชั้นนำระดับชาติ ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ พัฒนาทรัพยากรบุคคล และเป็นแหล่งอ้างอิงที่ได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของชุมชนและอุตสาหกรรมของประเทศ

 

 

ยุทธศาสตร์


Mastering

{
  • การสร้างงานวิจัยที่มีผลกระทบสูง (high-impact research) ทั้งงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์
  • การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางวิชาการ (academic alliance) ในการบุกเบิกนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านโลหะและวัสดุ ให้สามารถตอบสนองอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศ

Mentoring

{
  • การสร้างแรงจูงใจ (motivation) และบ่มเพาะ (incubation) นักวิจัยซึ่งหมายรวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้มีศักยภาพในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอันก่อให้เกิดคุณค่า (entrepreneurial innovation)

Referencing

{
  • การเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลให้แก่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
  • การประยุกต์องค์ความรู้ทางโลหะและวัสดุเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาไทย

Innovation-driven

{
  • การเป็นต้นแบบองค์กรขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพสูง (High performance organization)
  • การเป็นองค์กรที่มีความมั่นคง ผ่านการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนจากทรัพย์สินทางปัญญา

 

การดำเนินงาน


การดำเนินงานของสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ ประกอบด้วยการวิจัยและพัฒนารวมทั้งการบริการวิชาการดังนี้

งานวิจัยและพัฒนา งานวิจัยของสถาบันฯ จะเน้นการวิจัยเพื่อนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศมาใช้ให้เกิดคุณค่าด้วยการแปรรูปให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งใน งานอุตสาหกรรมและชีวิตประจำวัน โดยจะศึกษาค้นคว้าทั้งในส่วนของการปรับปรุงคุณภาพของ วัตถุดิบ เทคโนโลยีการผลิต และคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ได้ ซึ่งผลงานวิจัยเหล่านี้ สามารถนำไปประยุกต์เพื่อขยายระดับไปสู่การผลิตในขั้นอุตสาหกรรมต่อไปได้ ทิศทางการวิจัย สถาบันฯ ได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการวิจัยที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง (Unit of Excellence) โดยพยายามสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันฯ กับภาคอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศในลักษณะร่วมกันวิจัย (Consortium) หรือการรับการถ่ายทอดทาง เทคโนโลยีจากต่างประเทศและวิจัยพัฒนาต่อยอด (TT&D) โดยใช้สถานที่ บุคลากร และเครื่องมือของสถาบันฯ ร่วมกันวิจัยระหว่างสถาบันฯ ภาควิชาต่าง ๆ กับภาคอุตสาหกรรม พร้อมไปกับการให้บริการทางวิชาการทั้งด้านบริการวิเคราะห์ทดสอบ ตลอดจนจัดอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร และถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งนี้เพื่อให้เกิดบูรณาการระหว่างการเรียน การสอน การวิจัย และบริการวิชาการขึ้น อันจะเป็นการเสริมทิศทางของการพัฒนาความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยต่อไป ปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วดังนี้

  1. ร่วมกับภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จัดตั้งศูนย์วิจัยและทดสอบสิ่งทอ
  2. ดำเนินการพัฒนาเพื่อจัดตั้งศูนย์วัสดุชีวภาพไคติน/ไคโตซาน

 

การบริการวิชาการ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ มีการดำเนินการใน 4 รูปแบบ คือ

  1. การจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการเป็นการจัดประชุมสัมมนาเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านโลหะและวัสดุให้กับบุคลากรทั้งในภาครัฐบาลและเอกชน
  2. จัดให้มีการพบปะเสวนาระหว่างบุคคล/คณะบุคคลทั้งจากหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชนที่ทำงานวิจัยหรือสนใจงานในสาขาเดียวกัน
  3. การบริการวิเคราะห์และทดสอบ Identification (วิเคราะห์แยกประเภทวัสดุ) Microstructure Analysis (วิเคราะห์โครงสร้าง) Materials Testing (ทดสอบวัสดุ)
  4. การให้คำปรึกษาหรือการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทำวิจัยร่วมกันกับภาคอุตสาหกรรม การตลาด การควบคุมคุณภาพ การปรับปรุงคุณภาพ การวิเคราะห์ระบบ
    (system analysis) เป็นต้น