อาจารย์/นักวิจัยสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ นำทีมโดย ศ.ดร.ยุทธนันท์ บุญยงมณีรัตน์ ดร.นาฏนัดดา รอดทองคำ ดร.เจียเชียน ฉิน คุณกนกวรรณ แสงเกียรติยุทธ และคุณปราณี รัตนวลีดิโรจน์ ร่วมกับ Affiliated professors ประจำสถาบัน 2 ท่าน คือ Prof. Juan Hinestroza และ Dr. Martin Metzner ภายใต้โครงการ การพัฒนาสับสเตรทนำไฟฟ้าที่ดัดงอได้สำหรับประยุกต์ใช้ด้านพลังงานและตัวรับรู้ ได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้ร่วมนำเสนอ การพัฒนาวัสดุนำไฟฟ้าที่ดัดงอได้สำหรับสร้างตัวรับรู้และวัสดุกักเก็บพลังงานที่มีศักยภาพสูง ในงาน International Joint Symposium on Electronic Materials for Energy and Sensor เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 ณ Hokkaido University (มหาวิทยาลัยฮอกไกโด) โดยผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยนานาชาติระดับ Tier1 พร้อมทั้งได้นำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดสู่วงการวิชาการในระดับนานาชาติ โดยมีการจัด Symposium ร่วมกับ Hokkaido University และถ่ายทอดความรู้ ความเชี่ยวชาญให้กับนิสิต นักศึกษา และอาจารย์ชาวญี่ปุ่นที่เข้าร่วมฟัง symposium ดังกล่าวด้วย ซึ่งนับว่าตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในเป้าหมายที่ 17: Partnerships for the Goals ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน (Strengthen the means of implementation and revitalize the global partnership for sustainable development) รวมทั้งยังมีความสอดคล้องกับ SDGs เป้าหมายที่ 8: Decent Work and Economic Growth ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืนการจ้างงานที่มีคุณค่า และSDGs เป้าหมายที่ 9: Industry Innovation and Infrastructure พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนทั่งถึง และสนับสนุนนวัตกรรมอีกด้วย
ชื่อโครงการ |
การพัฒนาสับสเตรทนำไฟฟ้าที่ดัดงอได้สำหรับประยุกต์ใช้ด้านพลังงานและตัวรับรู้ |
รายละเอียดและความสำคัญ |
โครงการนี้ มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีตัวรับรู้และวัสดุกักเก็บพลังงานที่ดัดงอได้ซึ่งปัจจุบัน ถูกนำมาใช้ร่วมกันในการสร้างเป็นอุปกรณ์รับรู้แบบสวมใส่ (wearable device) และได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้นและการตรวจวัดสัญญาณชีพในการออกกำลังกายด้วยตนเอง ทำให้ผู้ใช้ทราบถึงความผิดปกติของร่างกายได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล โดยตัวรับรู้แบบสวมใส่นั้นต้องออกแบบให้สัมผัสกับส่วนต่างๆของร่างกายโดยตรงจึงจำเป็นต้องสร้างขึ้นจากวัสดุที่มีความเข้ากันได้กับผิวหนังของสิ่งมีชีวิต ไม่ก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง รังไหมซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรจึงถูกเลือกนำมาใช้เป็นซับสเตรทที่สำคัญในการพัฒนาตัวรับรู้และวัสดุกักเก็บพลังงานที่ดัดงอได้ ซึ่งนอกจากทำให้ได้อุปกรณ์รับรู้แบบสวมใส่ที่มีประสิทธิภาพสูงแล้ว ยังเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งจากรังไหมให้กลับมาเป็นประโยชน์กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนผ่านโปรแกรม Global Partnership ทุนวิจัย บพค. ซึ่งเน้นการสร้างเสริมความร่วมมือกับนักวิจัยชั้นนำจากประเทศต่างๆ ในการร่วมวิจัย และต่อยอดเป็นเครือข่ายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและความยั่งยืนต่อไป |
คำสำคัญ (Keywords) |
วัสดุนำไฟฟ้าที่ดัดงอได้ ตัวรับรู้ วัสดุกักเก็บพลังงาน เกษตรกรผู้เลี้ยงไหม เครือข่ายวิจัยนานาชาติ |
ผลกระทบ (Impact) ที่สำคัญ |
ผลกระทบที่สําคัญของโครงการนี้คือ สามารถเพิ่มศักยภาพการสร้างตัวรับรู้ และวัสดุกักเก็บพลังงานแบบดัดงอได้ที่มีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัยต่อการสวมใส่ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของอุปกรณ์สวมใส่ (wearable device) ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านการตรวจคัดกรองสุขภาพเพื่อบ่งชี้สภาวะต่างๆของร่างกายมากผู้ใช้งานขึ้นในปัจจุบัน และมีแนวโน้มความต้องการใช้งานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ซึ่งช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ให้กับประเทศไทยในอนาคต และยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีกทางหนึ่งด้วย อีกทั้ง โครงการยังก่อให้เกิดความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน |